วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พลาสเตอร์ยา มาจากไหน?

เวลาเรามีบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ เช่น มีดบาด หกล้มผิดถลอก เป็นต้น เรามักนึกถึงพลาสเตอร์ยานำมาใช้ปิดแผล ปัจจุบันมีให้เลือกทั้งรูปแบบดั้งเดิม เป็นแบบผ้ามีรูปพรุนให้ระบายอากาศ ต่อมาเป็นพลาสติกใสกลืนกับสีผิว และยังมีลวดลายเก่ไก๋น่ารักตามความต้องการของเจ้าของแผล แล้วเราเคยสงสัยบ้างไหมว่าเจ้าพลาสเตอร์ปิดแผลนั้นมีที่มาอย่างไร
ที่มาก็คือ นายเอิร์ล ดิกสัน (Mr. Eari Dickson) ชาวมลรัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพนักงานในบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มีภรรยาเป็นแม่บ้าน ซึ่งวันๆ ก็ทำงานครัวและงานบ้าน มักประสบอุบัติเหตุจากการทำงานบ้านอยู่เป็นประจำ ยอดชายนายเอิร์ลก็ต้องคอบดูแลทำแผลให้ศรีภรรยาอยู่เสมอ จึงเกิดความคิดในการทำแผลให้สะดวกและประหยัด ด้วยการนำผ้าก๊อซใส่ยาแล้ววางบนแผ่นเทปกาว จากนั้นก็นำมาปิดที่แผล

ความคิดนี้ นายเอิร์ลเห็นว่าเข้าที จึงนำไปเสนอเจ้านายที่บริษัท ในปี ค.ศ. 1921 ซึ่งบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก้ได้ลองผลิตเป็นแถบพันแผลแบบมีกาว ขนาดกว้าง 3 นิ้ว ยาว 18 นิ้ว ออกจำหน่าย แต่ไม่ติดตลาดเท่าที่ควร

ต่อมาในปี ค.ศ. 1924 บริษัทฯ ได้ปรับหรุงรูปแบบของแถบพันแผลจากเดิมให้เล็ก กะทัดรัด ใช้สะดวกยิ่งขึ้น พร้อมกับสร้างเครื่องจักรสำหรับการผลิตโดยเฉพาะ ตั้งชื่อผลิตภัณฑ์แถบติดแผลนี้ว่า แบนด์ เอด (Band-aid) เมื่อนำออกจำหน่ายก็กลายเป็นสินค้ายอดนิยมทำรายได้ให้บริษัทฯ อย่างมหาศาล และได้พัฒนารูปแบบให้สนองความต้องการของผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้น กระทั่งบ้างก็นำมาติดตามหน้า แขน ขา ให้ดูเก๋ ทั้งๆ ที่ไม่มีแผลก็มี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น